หุ้น TR หรือบริษัทไทยเรยอน เป็นหุ้นที่ผมชื่นชอบมากในแง่ของการ "หาเงิน" แต่ก็เป็นหุ้นที่ผมไม่ชอบมากอีกเหมือนกันในแง่ของการ "ใช้เงิน"
ในด้านการ "หาเงิน" model ของ TR จัดได้ว่าเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เป็นเจ้าเดียวในประเทศที่ผลิตเส้นใยเรยอน เมื่อครั้งไปดูโรงงานก็พบว่ามีการบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารดูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและพยายามลดต้นทุน
ในด้านการ "ใช้เงิน" สามารถแบ่งเป็นสองส่วนคือ
ส่วนการใช้เงินลงทุนเครื่องจักรเพื่อแทนเครื่องเก่าหรือสร้าง line การผลิตใหม่และ
ส่วนที่สองคือการลงทุนไปยังบริษัทในเครือ
ประเด็นแรกไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเป็นการทดแทนเครื่องจักรเก่า ซึ่งมีแต่จะทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากรายได้ของไลน์ใหม่และต้นทุนที่ประหยัดจากเครื่องจักรใหม่
แต่ประเด็นที่สองนับว่าเป็นจุดบอดที่ทำให้ผมคิดว่าการลงทุนใน TR อาจจะไม่คุ้มค่า (หรือต้องต่อราคามากหน่อย) ก็เพราะว่าการเอาเงินไปลงทุนในบริษัทในเครือที่สูญเปล่าโดยไม่มีอะไรตอบแทนกลับมาเป็นเงินสดนอกเสียจากสิ่งที่เรียกว่า "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี
ยกเว้นการลงทุนใน TCB เพียงตัวเดียวที่ดูดีมี return on investment มากกว่า 10% จากเงินปันผล นอกนั้นการลงทุนในบริษัทอื่นๆดูเหมือนจะเป็น conflict of interest ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่กับผู้ถือหุ้นรายย่อย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถขยายกิจการในต่างประเทศอย่างง่ายดาย โดยการใช้กระแสเงินสดที่ TR สร้างขึ้นมาไปซื้อหุ้น ในขณะที่หนทางในการนำเงินจากธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยตรงจากตลาดหลักทรัพย์ สามารถจ่ายผ่านช่องทางอื่นๆได้ง่ายๆ เช่น ค่า Management fee หรือ Royalty fee
ตรงนี้เป็นสิ่งที่รายย่อยไม่สามารถเข้าถึงและเผลอๆ ชาตินี้ทั้งชาติอาจจะไม่ได้เห็นอะไรกลับมาจากการลงทุนในบริษัทย่อย นอกเสียจาก "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี
ปล. สัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อยของ TR ในงบดุลแทบจะมีสัดส่วนเกือบ 50% ของสินทรัพย์รวมเข้าไปแล้ว
ต่อไปนี้เป็น comment ที่ผมเคย post ในกระทู้ร้อยคนร้อยหุ้นของหุ้น TR เมื่อวันที่ 28 Nov 2009 ระหว่างรองบปีออกครับ
EPS คงจะผันผวนน้อยลงนะครับ มีสาเหตุหลักคือ
1) เดือนตุลาคม 2552 มีการเปลี่ยนนโยบายการคิดต้นทุนวัตถุดิบจาก FIFO เป็น Moving avg.
2) นโยบายการขายของและการสั่งวัตถุดิบที่ match กันจาก Annual report (แต่ข้อนี้มีอยู่ก่อนแล้ว)
3) Trend ในอดีตที่ราคาขายกับราคาวัตถุดิบหลักมักไปด้วยกัน (แต่ให้ผลที่ดีมากกว่าถ้าราคาขายขึ้น ถึงแม้ต้นทุนจะขึ้นด้วยก็ตาม)
4) ถ้าในอนาคต Modal ที่มีส่วนต่างกำไรสูงกว่า สามารถเพิ่มสัดส่วนได้อย่างต่อเนื่อง (จะช่วยไป offset ในกรณีที่เป็น trend ราคา rayon --> Price variance ไม่ดีแต่ Mixed variance ดี)
แต่แปลกดีจังครับ TR นี่
กำไรต่ำกว่าปีที่แล้วตั้งเยอะ
แต่ Free cash flow กลับสูงสุดในรอบ 4 ปี
และคิดว่าจะทำ New high ในปีหน้าและปีหน้าๆจากการที่ราคาขายสูงขึ้นหนึ่งเด้งและการลงทุนที่ลดลง 1 เด้ง (ปีนี้ลงทุนแค่ 60% ของค่าเสื่อมเอง)
Operating cash flow ก็ไม่สะทกสะท้าน
เห็นทีใครว่า TR เป็น cyclical stock นี่ คงใช้ไม่ได้ถ้ามองในมุมของกระแสเงินสด
(รึเปล่า)
แต่ก็มีข้อเสียหลายข้อนะครับเจ้า TR นี่
1) Working capital สูงประมาณ 20% ของยอดขายทำให้กระแสเงินสดที่ได้จากการเติบโตถูกสะกัดดาวรุ่งด้วยการเพิ่มขึ้นของ Working capital ซึ่งท้ายสุดก็เป็นสาเหตุ classic ที่จะตอบผู้ถือหุ้นว่าต้องสำรองเงินไว้ใช้ จึงไม่สามารถจ่ายเงินปันผลสูงๆได้ ซึงสาเหตุมาจากการสั่งซื้อวัตถุดิบเก็บ stock 2 เดือนแต่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ 2 สัปดาห์และให้ลูกหนี้ชำระเงินยาวนานถึงเดือนครึ่ง (ทั้งๆที่เป็นผู้ขาย Rayon เจ้าเดียวในประเทศและมีสัดส่วนยอดขายในประเทศกว่าครึ่งของยอดขายรวม)
2) ค่าใช้จ่ายในการสร้างสัมพันธ์และประกันอนาคตสูง ถึงสูงมาก เพราะท่านเล่นเอาทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกือบครึ่งนึงของ asset ไปประกันลูกพี่อินโด (อันนี้ยากจะยอมรับ dividend ต่อเงินลงทุนยังกะฝากแบงค์), ประกันเชื้อเพลิงจากเจ้าดำ (แต่อันนี้พอรับได้เพราะ dividend ดี) และตัวแสบสุดๆก็บริษัทที่มีชื่อคล้ายๆกับบริษัทแม่ที่แม้แต่ dividend ก็ยังไม่ได้รับซักบาท (แถมไม่รู้ด้วยว่าเจ้านี่ช่วยอะไรให้ TR บ้าง) และล่าสุดประกันอนาคตอย่างไกลที่จีนและลาว
เหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินปันผล TR ไม่ไปไหนซักที
ไม่ทราบว่าวิเคราะห์ถูกหรือผิดอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยครับ
ปล. ยังสงสัยอยู่ว่าหากพี่ท่านจะขายหุ้นอินโดที่เป็นลูกค้าออกไป เค้าจะไม่ซื้อกับ TR รึเปล่า หรือหากพี่ท่านขายหุ้นบริษัทที่ชื่อคล้ายๆแม่ออกไป จะส่งผลอะไรกับ TR บ้าง เพราะข้อตกลงการซื้อขายก็เป็นไปตามราคาตลาดอยู่ดี
ผมชอบมากกว่าหากผู้บริหารไม่ลงทุนแบบซื้อหุ้นบริษัทร่วม แต่ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต่างสาขาน่ะครับ (อันนี้ผมคิดเองเล่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นไปได้รึเปล่า)
เพราะการถือหุ้นบริษัทร่วม สิ่งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ก็คือกำไรทางบัญชีที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นเงินสดถึงมือเราเมื่อไหร่ นอกจากจะมีปันผลที่เหมาะสมเช่น TCB โดยกระแสของเงินจะเป็นแนวนี้
TR --> สร้างเงินสด --> เอาไปลงทุนในบริษัทร่วมโดยการถือหุ้นเพิ่ม --> ผู้ถือหุ้นในบริษัทร่วมก่อนหน้าซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เงินเข้าเป๋า หรือนำไปขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆ --> บริษัทร่วมเติบโตมีกำไร --> แสดงในส่วนแบ่งกำไรในงบ TR --> พอโตจนได้ที่ แทนที่จะจ่ายปันผล บริษัทแม่กลับสร้างกิจการใหม่ขึ้นมา --> บริษัทร่วมของเรานี้ก็เอาไปลงทุนต่อในบริษัทร่วมใหม่นั้น --> ไม่รู้จบ
จนกว่าจะมีกรณีแบบ TCB คือได้เป็นงินปันผลคืนกลับมา ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้บริษัทแม่เท่านั้นล่ะครับ ในขณะที่ผู้ถือหุ้น TR ได้เพียงกำไรทางบัญชีที่ไม่มีวันจะกลับมาเป็นเงินสด หากบริษัทแม่ยังสร้างบริษัทใหม่และใช้เงินทุนจากบริษัทร่วมด้วยกัน แทนที่จะระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ
ผลก็คือ wealth ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ถูกโอนอย่างละม่อม ทีละน้อย ทีละน้อย ไปที่บริษัทแม่ โดยบริษัทแม่ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เลย (มองในแง่ร้ายไปรึเปล่า)
จนกว่าซักวันหนึ่ง (ไม่รู้ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี) ที่บริษัทแม่จะหยุดการเติบโตหรือหยุดกิจการแล้วจ่ายเงินปันผลกลับมา
ในขณะที่การ take over มาเป็นบริษัทเดียวกันแบบ vertical integration จะทำให้สร้างมูลค่าได้โดยตรง เพราะช่วยลดต้นทุน (ปัจจุบันบริษัทยังต้องซื้อจากบริษัทร่วมในราคาตลาด) หรือเพิ่มรายได้ทางตรง ซึ่งผลออกมาก็จะเป็นเงินสดที่ได้ใน TR เองดัง flow นี้
TR --> สร้างเงินสด --> ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเยื่อหรืออื่นๆโดยเป็นชื่อตัวเอง --> ต้นทุนลดลง --> กำไรเงินสดสูงขึ้น --> เงินสดสูงจนล้น --> ปันผลออกมา --> เงินที่เหลือไปหาที่ลงทุนต่อ --> ต้นทุนต่ำลงอีกหรือรายได้เพิ่มขึ้นอีก --> เงินสดสูงขึ้น --> เพิ่มปันผลอีก
จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากบริษัทร่วมที่ลาวที่เพิ่งปลูกต้นไม้มีกำไรแต่ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการจ่ายปันผลกลับมาเป็นเวลาหลายๆปี ซึ่งเค้าเองสามารถโตได้ด้วยการเพิ่มทุนจากเงิน TR ที่คอยซื้อหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ ทุกปีๆ
คำตอบก็คือ เงินสดหรือกำไรใน Retain earning ของ TR จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดีให้บริษัทร่วม และจะแสดงให้เห็นในงบดุลเงินลงทุนของบริษัทร่วมที่โตเอาๆ แต่กลับไม่มีเงินปันผลตอบแทนกลับมาเลย โดยกำไรทางบัญชีส่วนหนึ่งจะได้มาจากส่วนแบ่งเหล่านี้ (ในขณะที่ปันผลยังต่ำเตี้ยเหมือนเดิม เพราะต้องคอยเอาเงินไปป้อนให้บริษัทร่วม) สังเกตได้จากกำไรทางบัญชีสูงขึ้นเรื่อยๆจากส่วนแบ่งบริษัทร่วม แต่เงินสดอิสระยังเท่าเดิม
ในขณะที่การที่บริษัท TR ไปเป็นคนปลูกป่าที่ลาวเอง จะให้ผลที่แตกต่างกัน นั่นคือกำไร TR จะสูงขึ้นเนื่องจากได้ต้นทุนที่ถูก ผลตอบแทนจะได้กลับมาเป็นเงินสดที่สูงขึ้นในงบดุล ไม่ใช่ เงินลงทุนในบริษัทร่วม และแน่นอนว่า เงินสดเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนกลับให้ผู้ถือหุ้น TR โดยตรงในรูปแบบเงินปันผล
นี่อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่การประเมินมูลค่ากิจการ ควรประเมินจากกระแสเงินสดอิสระ ไม่ใช่กำไรทางบัญชีที่สามารถโยกย้ายถ่ายเทให้สวยหรูโดยที่นักลงทุนรายย่อยไม่รู้ตัว
ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ
อ้อ อีกวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะสามารถถ่ายเทเงินสดแบบเนียนๆไปให้บริษัทร่วมก็คือการซื้อขายโดยกำหนด term การชำระเงินครับ
เช่น ถ้า TR ต้องซื้อเยื่อกระดาษจากบริษัทที่แคนาดา แต่เนื่องจากน้องแคนาดากำลังเติบโตและต้องการเงินสดไปลงทุนต่อเนื่อง จึงขอให้ TR จ่ายเงินให้เร็วๆหน่อย จากเดิมที่ถ้าซื้อที่อื่น TR จะจ่ายเงินภายใน 60 วัน พอเป็นน้องแคปุ๊บ บริษัทใจดี 7 วันก็โอนเงินให้เลย งานนี้น้องแคสบายเพราะไม่ต้องกู้เงินเพิ่มซักนิด
คนที่ทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงเจ้าตัว working capital ว่าสำคัญต่อการเติบโตขนาดไหน การที่ TR ยอมจ่ายเงินให้น้องแคเร็ว จะทำให้บริษัทต้องอั้นเงินไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมาหมุน ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้มากเท่าที่ควร
หรือถ้าน้องอินโดที่เป็นลูกค้า TR บอกว่า เค้าต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขอให้ยืดระยะเวลาชำระหนี้จากปกติ 30 วันเป็น 60 วัน ก็จะส่งผลให้ TR ต้องอั้นเงินไว้อีกก้อน เพราะเงินไหลเข้ามาช้าลง
การที่บริษัทมี % working capital สุงๆจะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการเติบโต เพราะยิ่งโต จะยิ่งต้องการเงินหมุนมากขึ้น
ผิดถูกอย่างไร รบกวนชี้แนะด้วยครับ
ปล. ผมมีหุ้นนิดนึงนะครับ ไม่อยากให้รีบซื้อกันจนราคาสูงเกินไป
วันพุธ, มิถุนายน 16, 2553
วันอังคาร, มิถุนายน 15, 2553
การประเมินมูลค่าหุ้นสไตล์ doodeemak
หลังจากทนเสียงเรียกร้องอันล้นหลาม(ของตัวเอง) ไม่ไหว วันนี้จึงได้ลองเขียนบทความการประเมินมูลค่าหุ้นสไตล์ doodeemak ซักทีนะครับ
จากการอ่านหนังสือบ้าง (ไม่อ่านบ้าง) จากบทความต่างๆบ้าง พบว่าวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นนั้นมีมากมายหลายวิธี (แล้วมรึงจะพูดทำไมฟะ) แต่โดยหลักๆแล้ว น่าจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้
1) วิธีเปรียบเทียบกำไรกับชาวบ้านและตัวเองในอดีตกับราคาในตลาด
นั่นคือ ดูว่ากำไรที่บริษัทได้สร้างขึ้นมา เมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบันแล้วถูกหรือแพง ซึ่งก็คือ P/E ratio นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น บริษัท กอไก่ มีกำไร 10 บาทต่อปี มีมูลค่าตลาดรวม 100 บาท อย่างนี้ก็จะได้ P/E = 100/10 ก็คือ 10 เท่า
หากเปรียบเทียบกับ P/E ในอดีตของบริษัทในปีก่อนๆ บริษัทเคยมี P/E อยู่ที่ประมาณ 15-20 เท่า อย่างนี้ก็แสดงว่าหุ้นบริษัทนี้ถูก
แต่วิธีนี้จะต้องระวังคือกำไรที่นำมา ควรจะเป็น "กำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต" ดังนั้นในกรณีหุ้นที่เป็นวัฎจักร ถ้าหากเราไปหลงซื้อตอนที่ PE ต่ำๆโดยคิดว่ามันถูก โดยหารู้ไม่ว่า มันถูกเพราะกำไรที่สูงเกินจริงในอดีต ทีนี้พอกำไรในอนาคตมันตกลง ก็กลับกลายเป็นว่า PE กระโดดขึ้นสูงไปมากและอาจจะทำให้ราคาตกลงในที่สุด
ทั้งนี้เราอาจเปรียบเทียบ P/E กับอุตสาหกรรมหรือบริษัทใกล้เคียงได้ตามความพอใจ (แต่จะยากซักหน่อย เพราะตลาดให้ PE ที่ควรจะเป็นของบริษัทแตกต่างกัน ตามโอกาสของการเติบโตของกำไรที่แตกต่างกัน)
ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นโดยการใช้ PE ratio ก็คือการเอา PE ที่เหมาะสมของบริษัทนั้นๆ คูณด้วยกำไรต่อหุ้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคูณด้วย safety factor หรือ margin of safety เช่น อาจจะเผื่อความผิดพลาดไว้ 30% ก็คูณด้วย 0.7 เป็นต้น
วิธีนี้มีข้อดีคือ เข้าใจง่ายแต่ก็มีข้อควรระวังคือ
- PE ที่เหมาะสมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและความคาดหวังของตลาดต่ออนาคตของบริษัท
- กำไรที่ประมาณการนั้นต้องใช้ forward PE หรือกำไรในอนาคต ซึ่งควรจะเป็นกำไรที่เราสามารถล่วงรู้ได้ก่อนที่ราคาในตลาดจะตอบสนอง
2) วิธีเปรียบเทียบมูลค่าผู้ถือหุ้นทางบัญชีกับราคาในตลาด
คล้ายกับ PE แต่จะเป็นการมองมูลค่าส่วนผู้ถือหุ้นแทนกำไรหรือก็คือ P/BV (Price to Book value) โดยข้อแตกต่างจาก PE ratio ที่เห็นได้ชัดคือราคาที่ประเมินได้ จะอิงจากสินทรัพย์เป็นหลักซึ่งมีข้อดีคือมีความแน่นอนสูงไม่เหมือนกับกำไร แต่มีข้อเสียคือ การประเมินมูลค่า book value หรือส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น ควรจะต้องมีการปรับปรุงสินทรัพย์ให้เป็นมูลค่าที่แท้จริง และถึงแม้ P/BV จะต่ำแต่หากผู้บริหารไม่คิดจะขายสินทรัพย์หรือนำสินทรัพย์ไปก่อให้เกิดประโยชน์ มูลค่าหรือราคาของหุ้นก็อาจจะยังคงไม่ไปไหน ส่วนวิธีการประเมินมูลค่าหุ้น ก็เลียนแบบ PE เลยครับนั่นคือดูว่า P/BV ในอดีตของบริษัทกับปัจจุบันเป็นอย่างไร ถ้า P/BV ในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตมากๆ ก็แสดงว่าถูก (แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังคุณภาพของสินทรัพย์ด้วยนะครับ)
3) วิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ
อันนี้ยากมากครับ สามารถหาอ่านได้จากตำราเล่มหนาๆ
ข้อดีคือ เป็นวิธีที่ใกล้เคียงที่สุดในการประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ เพราะคำนึงถึงเงินสดที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ แต่มีข้อเสียคือสมมิตฐานที่นำมาใช้ หากเปลี่ยนนิดเดียว ก็จะทำให้มูลค่าหุ้นที่คำนวนได้เปลี่ยนไปมาก
โดยสรุปแล้วตามความเห็นของผม ทุกวิธีที่กล่าวมา ยากเกินไปทั้งนั้นเลย (แล้วมรึงจะพิมพ์มาตั้งนานหาพระแสงอะไร) ซึ่งการประเมินมูลค่าหุ้นนั้น ไม่น่าจะยากขนาดนั้น ก็เลยมาคิดว่าจะประเมินแบบไหนดีที่จะทำให้เรารู้สึกสบายใจในการถือหุ้นลงทุนโดยมีกฎเหล็กคือ "เงินต้นต้องปลอดภัย"
ผมจึงนั่งคิด (นอนคิดเป็นบางครั้ง) ว่าบริษัทลักษณะแบบไหนที่เวลาเราลงทุนแล้วเรารู้สึกปลอดภัยม้ากมาก ว่าเงินทุนเราจะไม่หล่นหายแถมเข้าซื้อในราคาถูก
คำตอบที่ได้จากเสียงเรียกของหัวใจก็คือ "บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกสม่ำเสมอและราคาถูกเมื่อเทียบกับราคาตลาด"
1) "บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกสม่ำเสมอ"
นั่นคือเป็นบวกและสม่ำเสมอในแนวที่สูงขึ้น คือไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุกๆปี แต่ขอให้มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นหรือคงที่
เพราะเวลาเราลงทุนอะไรลงไป เราย่อมต้องการให้กิจการนั้นมีเงินสดไหลกลับออกมาให้เรา เราถึงจะรู้สึกปลอดภัย
2) ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาด
ผมคิดง่ายๆว่า ขอคืนทุนภายในไม่เกิน 3-4 ปีกับธุรกิจตะวันตกดิน และคืนทุนภายในไม่เกิน 10 ปีสำหรับกิจการที่มีแนวโน้มยังโตได้อีก
ตัวอย่างเช่น กระแสเงินสดอิสระประมาณการมีมูลค่า 200 ล้านบาทและบริษัทไม่มีหนี้สิน มูลค่าตลาดของบริษัทที่ผมยอมซื้อในกรณีที่เป็นธุรกิจตะวันตกดินต้องไม่เกิน 600 ล้านบาท จึงจะรู้สึกปลอดภัย เป็นต้น
แต่หากเป็นกิจการที่มีแนวโน้มโตขึ้นๆ อาจจะยอมยืดเวลาคืนทุนออกไปเป็น 10 ปี ดังนั้นมูลค่าตลาดที่ผมยอมซื้อก็คือ 2000 ล้านบาท (โดยมองว่า 200 ล้านบาทในปัจจุบัน น่าจะเพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งจะทำให้ราคาที่แพงในวันนี้ ถูกในวันหน้า)
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นศาตร์และศิลป์ของแต่ละท่านในการประเมินมูลค่ากระแสเงินสดอิสระของกิจการ เพราะต้องมีการดูตัวเลขจริงในอดีตประกอบกับการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจและความสามารถทางการแข่งขันประกอบด้วย (หากมีโอกาสจะได้กล่าวถึงในบทความถัดๆไปนะครับ) จะเห็นได้ว่า วิธีนี้เราไม่ต้องคำนวนค่า WACC อย่างวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ รวมทั้งไม่ต้องคอยประมาณกำไรที่จะเกิดในระยะสั้นๆแบบ PE และไม่ต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ตาม P/BV อีกต่างหาก แต่วิธีจะมีข้อจำกัดตรงที่ กิจการที่มีกระแสเงินสดอิสระไม่สม่ำเสมอ ก็อาจจะไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งบางครั้ง อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสทองก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนสไตล์ doodeemak ต้องรักษากฎเหล็กไว้นะครับ คือลงทุนแล้วรู้สึกปลอดภัย เงินต้นไม่หาย
จากนั้นก็เอามูลค่าตลาดของหุ้นในใจที่ได้หารด้วยจำนวนหุ้นในตลาด เพียงเท่านี้ก็จะได้ราคาหุ้นในใจสไตล์ doodeemak แล้วล่ะครับ
จากการอ่านหนังสือบ้าง (ไม่อ่านบ้าง) จากบทความต่างๆบ้าง พบว่าวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นนั้นมีมากมายหลายวิธี (แล้วมรึงจะพูดทำไมฟะ) แต่โดยหลักๆแล้ว น่าจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้
1) วิธีเปรียบเทียบกำไรกับชาวบ้านและตัวเองในอดีตกับราคาในตลาด
นั่นคือ ดูว่ากำไรที่บริษัทได้สร้างขึ้นมา เมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบันแล้วถูกหรือแพง ซึ่งก็คือ P/E ratio นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น บริษัท กอไก่ มีกำไร 10 บาทต่อปี มีมูลค่าตลาดรวม 100 บาท อย่างนี้ก็จะได้ P/E = 100/10 ก็คือ 10 เท่า
หากเปรียบเทียบกับ P/E ในอดีตของบริษัทในปีก่อนๆ บริษัทเคยมี P/E อยู่ที่ประมาณ 15-20 เท่า อย่างนี้ก็แสดงว่าหุ้นบริษัทนี้ถูก
แต่วิธีนี้จะต้องระวังคือกำไรที่นำมา ควรจะเป็น "กำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต" ดังนั้นในกรณีหุ้นที่เป็นวัฎจักร ถ้าหากเราไปหลงซื้อตอนที่ PE ต่ำๆโดยคิดว่ามันถูก โดยหารู้ไม่ว่า มันถูกเพราะกำไรที่สูงเกินจริงในอดีต ทีนี้พอกำไรในอนาคตมันตกลง ก็กลับกลายเป็นว่า PE กระโดดขึ้นสูงไปมากและอาจจะทำให้ราคาตกลงในที่สุด
ทั้งนี้เราอาจเปรียบเทียบ P/E กับอุตสาหกรรมหรือบริษัทใกล้เคียงได้ตามความพอใจ (แต่จะยากซักหน่อย เพราะตลาดให้ PE ที่ควรจะเป็นของบริษัทแตกต่างกัน ตามโอกาสของการเติบโตของกำไรที่แตกต่างกัน)
ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นโดยการใช้ PE ratio ก็คือการเอา PE ที่เหมาะสมของบริษัทนั้นๆ คูณด้วยกำไรต่อหุ้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคูณด้วย safety factor หรือ margin of safety เช่น อาจจะเผื่อความผิดพลาดไว้ 30% ก็คูณด้วย 0.7 เป็นต้น
วิธีนี้มีข้อดีคือ เข้าใจง่ายแต่ก็มีข้อควรระวังคือ
- PE ที่เหมาะสมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและความคาดหวังของตลาดต่ออนาคตของบริษัท
- กำไรที่ประมาณการนั้นต้องใช้ forward PE หรือกำไรในอนาคต ซึ่งควรจะเป็นกำไรที่เราสามารถล่วงรู้ได้ก่อนที่ราคาในตลาดจะตอบสนอง
2) วิธีเปรียบเทียบมูลค่าผู้ถือหุ้นทางบัญชีกับราคาในตลาด
คล้ายกับ PE แต่จะเป็นการมองมูลค่าส่วนผู้ถือหุ้นแทนกำไรหรือก็คือ P/BV (Price to Book value) โดยข้อแตกต่างจาก PE ratio ที่เห็นได้ชัดคือราคาที่ประเมินได้ จะอิงจากสินทรัพย์เป็นหลักซึ่งมีข้อดีคือมีความแน่นอนสูงไม่เหมือนกับกำไร แต่มีข้อเสียคือ การประเมินมูลค่า book value หรือส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น ควรจะต้องมีการปรับปรุงสินทรัพย์ให้เป็นมูลค่าที่แท้จริง และถึงแม้ P/BV จะต่ำแต่หากผู้บริหารไม่คิดจะขายสินทรัพย์หรือนำสินทรัพย์ไปก่อให้เกิดประโยชน์ มูลค่าหรือราคาของหุ้นก็อาจจะยังคงไม่ไปไหน ส่วนวิธีการประเมินมูลค่าหุ้น ก็เลียนแบบ PE เลยครับนั่นคือดูว่า P/BV ในอดีตของบริษัทกับปัจจุบันเป็นอย่างไร ถ้า P/BV ในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตมากๆ ก็แสดงว่าถูก (แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังคุณภาพของสินทรัพย์ด้วยนะครับ)
3) วิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ
อันนี้ยากมากครับ สามารถหาอ่านได้จากตำราเล่มหนาๆ
ข้อดีคือ เป็นวิธีที่ใกล้เคียงที่สุดในการประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ เพราะคำนึงถึงเงินสดที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ แต่มีข้อเสียคือสมมิตฐานที่นำมาใช้ หากเปลี่ยนนิดเดียว ก็จะทำให้มูลค่าหุ้นที่คำนวนได้เปลี่ยนไปมาก
โดยสรุปแล้วตามความเห็นของผม ทุกวิธีที่กล่าวมา ยากเกินไปทั้งนั้นเลย (แล้วมรึงจะพิมพ์มาตั้งนานหาพระแสงอะไร) ซึ่งการประเมินมูลค่าหุ้นนั้น ไม่น่าจะยากขนาดนั้น ก็เลยมาคิดว่าจะประเมินแบบไหนดีที่จะทำให้เรารู้สึกสบายใจในการถือหุ้นลงทุนโดยมีกฎเหล็กคือ "เงินต้นต้องปลอดภัย"
ผมจึงนั่งคิด (นอนคิดเป็นบางครั้ง) ว่าบริษัทลักษณะแบบไหนที่เวลาเราลงทุนแล้วเรารู้สึกปลอดภัยม้ากมาก ว่าเงินทุนเราจะไม่หล่นหายแถมเข้าซื้อในราคาถูก
คำตอบที่ได้จากเสียงเรียกของหัวใจก็คือ "บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกสม่ำเสมอและราคาถูกเมื่อเทียบกับราคาตลาด"
1) "บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกสม่ำเสมอ"
นั่นคือเป็นบวกและสม่ำเสมอในแนวที่สูงขึ้น คือไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุกๆปี แต่ขอให้มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นหรือคงที่
เพราะเวลาเราลงทุนอะไรลงไป เราย่อมต้องการให้กิจการนั้นมีเงินสดไหลกลับออกมาให้เรา เราถึงจะรู้สึกปลอดภัย
2) ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาด
ผมคิดง่ายๆว่า ขอคืนทุนภายในไม่เกิน 3-4 ปีกับธุรกิจตะวันตกดิน และคืนทุนภายในไม่เกิน 10 ปีสำหรับกิจการที่มีแนวโน้มยังโตได้อีก
ตัวอย่างเช่น กระแสเงินสดอิสระประมาณการมีมูลค่า 200 ล้านบาทและบริษัทไม่มีหนี้สิน มูลค่าตลาดของบริษัทที่ผมยอมซื้อในกรณีที่เป็นธุรกิจตะวันตกดินต้องไม่เกิน 600 ล้านบาท จึงจะรู้สึกปลอดภัย เป็นต้น
แต่หากเป็นกิจการที่มีแนวโน้มโตขึ้นๆ อาจจะยอมยืดเวลาคืนทุนออกไปเป็น 10 ปี ดังนั้นมูลค่าตลาดที่ผมยอมซื้อก็คือ 2000 ล้านบาท (โดยมองว่า 200 ล้านบาทในปัจจุบัน น่าจะเพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งจะทำให้ราคาที่แพงในวันนี้ ถูกในวันหน้า)
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นศาตร์และศิลป์ของแต่ละท่านในการประเมินมูลค่ากระแสเงินสดอิสระของกิจการ เพราะต้องมีการดูตัวเลขจริงในอดีตประกอบกับการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจและความสามารถทางการแข่งขันประกอบด้วย (หากมีโอกาสจะได้กล่าวถึงในบทความถัดๆไปนะครับ) จะเห็นได้ว่า วิธีนี้เราไม่ต้องคำนวนค่า WACC อย่างวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ รวมทั้งไม่ต้องคอยประมาณกำไรที่จะเกิดในระยะสั้นๆแบบ PE และไม่ต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ตาม P/BV อีกต่างหาก แต่วิธีจะมีข้อจำกัดตรงที่ กิจการที่มีกระแสเงินสดอิสระไม่สม่ำเสมอ ก็อาจจะไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งบางครั้ง อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสทองก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนสไตล์ doodeemak ต้องรักษากฎเหล็กไว้นะครับ คือลงทุนแล้วรู้สึกปลอดภัย เงินต้นไม่หาย
จากนั้นก็เอามูลค่าตลาดของหุ้นในใจที่ได้หารด้วยจำนวนหุ้นในตลาด เพียงเท่านี้ก็จะได้ราคาหุ้นในใจสไตล์ doodeemak แล้วล่ะครับ
วันจันทร์, มิถุนายน 07, 2553
วันประกาศอิสรภาพแห่งการลงทุนในหุ้น
วันสองวันมานี้ มีข่าวในแง่ลบค่อนข้างมากใน web Thavi ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ราคาหุ้นที่ได้จากการพบปะกับเซียนนั้น สูงขึ้นมากหลังจากงานพบปะสังสรรค์
หากเป็นเมื่อก่อน ผมคงเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ที่พยายามจะหาหุ้นคุณค่าจากเซียน แต่น่าแปลกว่าในปัจจุบันนี้ ผมแทบไม่มีความรู้สึกว่าอยากจะซื้อหุ้นตามเซียนเลย (แต่แอบมีบ้างเล็กๆ) ออกจะในแนวทางตรงกันข้าม คือไม่พยายามเข้าไปยุ่งกับหุ้นหรือกิจการที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะนั่นจะทำให้ต้นทุนในการเข้าซื้อลงทุนสูงขึ้นตามไปด้วย
อีกกรณีหนึ่งก็คือ การซื้อตามเซียนนั้น หากไม่ได้ทำการศึกษามาอย่างดีแล้ว นักลงทุนก็จะลงทุนอย่างไม่มีความสุข ไม่มีอิสรภาพ เพราะต้องคอยติดตามข่าวจากเซียนอยู่เสมอๆ ซึ่งนับเป็นความรู้สึกที่อึดอัดและไม่มีความสุขเป็นอย่างยิ่ง
ในความเห็นของผม สิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรทำก็คือการศึกษาและเรียนรู้จากเซียนท่านนั้นว่า ท่านมีหลักคิดหรือมีแนวทางการหาหุ้นอย่างไร แล้วพยายามนำไปปรับใช้ในกระบวนท่าการลงทุนเพื่อพัฒนาออกมาเป็นแนวทางการลงทุนของตัวเอง
วันนี้อาจจะเป็นวันประกาศอิสรภาพของตัวผมเอง เนื่องจากเป็นวันที่ผมสามารถ "สอบผ่าน" บททดสอบใจตัวเองในการซื้อหุ้นตามคนอื่นได้ ผมจึงขอเหมาเอาเองว่า การลงทุนแบบ VI ของผมนั้น น่าจะเลื่อนขั้นมาได้ระดับหนึ่ง หากเปรียบกับการเรียนในโรงเรียน วันนี้ก็น่าจะเป็นวันประกาศผลสอบว่าผมสามารถสอบผ่านชั้น ป.1 ไปสู่ชั้น ป.2 ได้นั่นเอง
หากเป็นเมื่อก่อน ผมคงเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ที่พยายามจะหาหุ้นคุณค่าจากเซียน แต่น่าแปลกว่าในปัจจุบันนี้ ผมแทบไม่มีความรู้สึกว่าอยากจะซื้อหุ้นตามเซียนเลย (แต่แอบมีบ้างเล็กๆ) ออกจะในแนวทางตรงกันข้าม คือไม่พยายามเข้าไปยุ่งกับหุ้นหรือกิจการที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะนั่นจะทำให้ต้นทุนในการเข้าซื้อลงทุนสูงขึ้นตามไปด้วย
อีกกรณีหนึ่งก็คือ การซื้อตามเซียนนั้น หากไม่ได้ทำการศึกษามาอย่างดีแล้ว นักลงทุนก็จะลงทุนอย่างไม่มีความสุข ไม่มีอิสรภาพ เพราะต้องคอยติดตามข่าวจากเซียนอยู่เสมอๆ ซึ่งนับเป็นความรู้สึกที่อึดอัดและไม่มีความสุขเป็นอย่างยิ่ง
ในความเห็นของผม สิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรทำก็คือการศึกษาและเรียนรู้จากเซียนท่านนั้นว่า ท่านมีหลักคิดหรือมีแนวทางการหาหุ้นอย่างไร แล้วพยายามนำไปปรับใช้ในกระบวนท่าการลงทุนเพื่อพัฒนาออกมาเป็นแนวทางการลงทุนของตัวเอง
วันนี้อาจจะเป็นวันประกาศอิสรภาพของตัวผมเอง เนื่องจากเป็นวันที่ผมสามารถ "สอบผ่าน" บททดสอบใจตัวเองในการซื้อหุ้นตามคนอื่นได้ ผมจึงขอเหมาเอาเองว่า การลงทุนแบบ VI ของผมนั้น น่าจะเลื่อนขั้นมาได้ระดับหนึ่ง หากเปรียบกับการเรียนในโรงเรียน วันนี้ก็น่าจะเป็นวันประกาศผลสอบว่าผมสามารถสอบผ่านชั้น ป.1 ไปสู่ชั้น ป.2 ได้นั่นเอง
วันศุกร์, มิถุนายน 04, 2553
แนวทางการลงทุน 4 สาย
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การลงทุนแบบ Value Investment นั้นดูจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นของผมในการมองลักษณะผู้คนที่เรียกตัวเองว่า VI ผ่านเว็บ Thaivi ว่าสามารถจัดแบ่งประเภทของกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นออกเป็นสายๆได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะมีการแบ่งกลุ่มแบ่งสำนักแตกต่างจากท่านอื่นๆนะครับ
สายที่ 1: เน้นทรัพย์สินมาก
ผมคิดว่านักลงทุนที่เหมาะกับสายนี้ จะต้องเป็นนักลงทุนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ค่อนข้างดี ชอบความปลอดภัย ในบางครั้งอาจจะต้องซื้อแล้วรอ เพื่อให้มูลค่านั้นปลดปล่อยออกมา (หรืออาจจะซื้อแล้วลืม ทิ้งไว้เป็นมรดกไปเลย) รวมทั้งการรอให้ราคานั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างมากดังนั้น หากนักลงทุนเลือดร้อนที่ต้องการความสำเร็จในระยะสั้น การลงทุนในแนวนี้อาจจะไม่เหมาะ เพราะอาจจะทนรอไม่ไหวจนต้องขายขาดทุนไป
สายที่ 2: เน้นกำไรแบบก้าวกระโดดใน 1-2 ปี
นักลงทุนที่เหมาะกับสายนี้จะต้องเป็นนักลงทุนที่มีเวลาค่อนข้างมากเพื่อทำให้ตัวเองนั้นมีความรู้ความเข้าใจ มีข้อมูลข่าวสารเหนือคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมาณการกำไรในอนาคต เพราะเค้าจะสามารถเข้าถึง "สาเหตุของกำไร" ได้อย่างดีและจะต้องมีความมั่นใจค่อนข้างสูงว่าเค้านั้นจะเป็นคนแรกๆที่รู้ตัวก่อนว่า "สาเหตุของกำไร" มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ "ซื้อ" และ "ขาย" ก่อนนักลงทุนรายอื่นๆ แต่หากเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีความเข้าใจ "ข่าว" หรือ "สาเหตุของกำไร" ที่เขาทราบนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ล่าช้ากว่านักลงทุนผู้ชาญฉลาด ทำให้ต้นทุนในการซื้อนั้นสูง และยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เมื่อไหร่ที่เค้าสมควรจะขาย เพราะเค้าไม่สามารถเข้าถึงและไม่สามารถเข้าใจ "สาเหตุของกำไร" ได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างที่พบเห็นอยู่ตาม webboard ของ Thaivi ที่ผ่านมาก็เช่น กระทู้การขาดทุนหุ้น TRC ที่เป็นหุ้นโครงการและประสบปัญหาขาดทุนทำให้ราคาหุ้นตกลงอย่างหนัก
สายที่ 3: เน้นความปลอดภัยของเงินต้นและเงินปันผล
นักลงทุนสายนี้ควรจะต้องเป็นนักลงทุนที่มีความสามารถในการอ่านงบการเงินได้ค่อนข้างดี รวมถึงการอ่านค่า ratio การทำกำไรและงบกระแสเงินสด นักลงทุนที่เหมาะสม จึงควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางบัญชีเพื่อที่จะสามารถกรองหุ้นที่มีความปลอดภัยจากหนี้สินรวมถึงปริมาณกระแสเงินสดและยังต้องสามารถประมาณราคาได้อย่างดีและมีความอดทนในการรอและซื้อหุ้นในจังหวะทีมีราคาที่มีส่วนลดมากๆ เพื่อเป็นการสร้างกำไรให้งอกเงยได้โดยไม่เสี่ยง
สายที่ 4: เน้นศักยภาพและการเติบโตที่ยั่งยืน
นักลงทุนกลุ่มนี้จะมองศักยภาพของธุรกิจและ business model เป็นหลัก ว่าหุ้นตัวที่เขาต้องการนั้น จะยังสร้างกำไรที่ดีได้ในอนาคต 3-5 ปี หรืออาจจะ 10 ปีได้หรือไม่ ดังนั้น นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จในสายนี้ ควรจะเป็นนักลงทุนที่มีความสามารถในการอ่านและทำนายพฤติกรรมและ trend ในอนาคตของธุรกิจต่างๆได้เป็นอย่างดี
ผมจึงลองสรุป VI ทั้ง 4 สายตามจุดแข็ง, ผลตอบแทน และความเสี่ยงได้ดังนี้ครับ
สายที่ 1: เน้นทรัพย์สินมาก
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: ความสามารถในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่และมีความอดทนในการรอ
ผลตอบแทน: น้อยช่วงแรกแต่จะพุ่งมากที่สุดเมื่อทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่ถูกปลดปล่อยออกมา
ความเสี่ยง: เวลาในการรอคอยอาจไม่คุ้มกับค่าเสียโอกาส
สายที่ 2: เน้นกำไรแบบก้าวกระโดดใน 1-2 ปี
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: รู้ต้นตอ "สาเหตุของกำไร" ที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้ก่อนคนอื่นและมีเวลาติดตามอย่างใกล้ชิด
ผลตอบแทน: สูงมากและสามารถทำได้ในระยะสั้น
ความเสี่ยง: การประมาณกำไรพลาด, รู้ "สาเหตุของกำไร" ช้ากว่าคนอื่น, ต้องหาตัวใหม่ๆลงทุนอยู่เสมอๆ
สายที่ 3: เน้นความปลอดภัยของเงินต้นและเงินปันผล
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: การวิเคราะห์งบโดยเฉพาะงบกระแสเงินสดและความเข้าใจในธรรมชาติของธุรกิจ
ผลตอบแทน: ปานกลางแต่ค่อนข้างมั่นคง
ความเสี่ยง: การวิเคราะห์ผิด, สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอาจะทำให้ความปลอดภัยที่เคยมีหายไป
สายที่ 4: เน้นศักยภาพและการเติบโตที่ยั่งยืน
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: ความสามารถในการอ่าน trend และธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต
ผลตอบแทน: อาจจะน้อยในช่วงแรกแต่จะมากขึ้นๆตามศักยภาพของกำไรที่ถูกปลดปล่อยออกมา
ความเสี่ยง: การอ่าน trend พลาดและการซื้อหุ้นในราคาที่มี Margin of safety น้อยเกินไป
โดยสรุปก็คือ นักลงทุนควรจะต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองเหมาะกับสไตล์การลงทุนแบบไหน โดยอาจพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่นเวลาและเครือข่ายที่มี เช่น หากเป็นนักลงทุนเต็มเวลาการเลือกแนวทางสายที่ 2 น่าจะเหมาะ เพราะสามารถมีเวลาสร้างเครือข่ายและเข้าถึงข้อมูลได้ดี ในขณะที่นักลงทุนไม่เต็มเวลาควรจะหลีกเลี่ยง
ในส่วนตัวของผมแล้ว ยังเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ เพราะเข้าตลาดมาเพียง 3 ปีกว่าๆ และยังไม่ใช่นักลงทุนเต็มเวลาที่สามารถ monitor ข้อมูลข่าวสารหรือ trend ทางธุรกิจได้ก่อนคนอื่นๆ แต่มีความรู้พื้นฐานด้านบัญชีและจบ MBA ผมจึงคิดว่าแนวทางที่เหมาะสมในการจัดพอร์ตของตัวเองน่าจะเป็น
เน้นสินทรัพย์มาก: 20% หวังผลตอบแทนเป็นก้อนใหญ่ๆในระยะยาว
เน้นกำไรก้าวกระโด 1-2 ปี: 0% ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลเชิงลึก กลัวความเสี่ยงเพราะรู้น้อยกว่าคนอื่นๆ
เน้นความปลอดภัย: 60% สามารถวิเคราะห์งบและอัตราส่วนต่างๆได้ดี
เน้นศักยภาพอนาคต: 20% พอจะมอง mega trend ได้บ้าง แต่รอซื้อตอนตลาดตกใจ
อย่างไรก็ดีผมเชื่อว่า หุ้นทุกตัวมักจะเป็นหุ้นที่มีลักษณะผสมผสานกันทั้งสี่แบบ เพียงแต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ที่สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ความโดดเด่นของหุ้นแต่ละตัวนั้นจะแสดงออกมาเพียง 1 สายที่โดดเด่นจริงๆ
ในความเห็นของผมคิดว่า นักลงทุนหน้าใหม่ส่วนมาก ชอบที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยการมองหาหุ้น "VI" โดยทึกทักเอาว่า หุ้น "VI" คือหุ้นที่นักลงทุนหุ้นคุณค่ากำลังนิยมในขณะนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ ซึ่งโดยส่วนมากหุ้นที่ได้รับความนิยม มักจะเป็นหุ้นสายที่ 2 เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าดึงดูดในขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและความเข็ด ให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ด้วยเช่นกัน หากนักลงทุนเหล่านั้นไร้ซึ่งจุดแข็งในการเข้าถึงและมีเวลาที่จะ monitor "สาเหตุของกำไร" ได้รวดเร็วกว่าคนอื่นๆ
สายที่ 1: เน้นทรัพย์สินมาก
ผมคิดว่านักลงทุนที่เหมาะกับสายนี้ จะต้องเป็นนักลงทุนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ค่อนข้างดี ชอบความปลอดภัย ในบางครั้งอาจจะต้องซื้อแล้วรอ เพื่อให้มูลค่านั้นปลดปล่อยออกมา (หรืออาจจะซื้อแล้วลืม ทิ้งไว้เป็นมรดกไปเลย) รวมทั้งการรอให้ราคานั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างมากดังนั้น หากนักลงทุนเลือดร้อนที่ต้องการความสำเร็จในระยะสั้น การลงทุนในแนวนี้อาจจะไม่เหมาะ เพราะอาจจะทนรอไม่ไหวจนต้องขายขาดทุนไป
สายที่ 2: เน้นกำไรแบบก้าวกระโดดใน 1-2 ปี
นักลงทุนที่เหมาะกับสายนี้จะต้องเป็นนักลงทุนที่มีเวลาค่อนข้างมากเพื่อทำให้ตัวเองนั้นมีความรู้ความเข้าใจ มีข้อมูลข่าวสารเหนือคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมาณการกำไรในอนาคต เพราะเค้าจะสามารถเข้าถึง "สาเหตุของกำไร" ได้อย่างดีและจะต้องมีความมั่นใจค่อนข้างสูงว่าเค้านั้นจะเป็นคนแรกๆที่รู้ตัวก่อนว่า "สาเหตุของกำไร" มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ "ซื้อ" และ "ขาย" ก่อนนักลงทุนรายอื่นๆ แต่หากเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีความเข้าใจ "ข่าว" หรือ "สาเหตุของกำไร" ที่เขาทราบนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ล่าช้ากว่านักลงทุนผู้ชาญฉลาด ทำให้ต้นทุนในการซื้อนั้นสูง และยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เมื่อไหร่ที่เค้าสมควรจะขาย เพราะเค้าไม่สามารถเข้าถึงและไม่สามารถเข้าใจ "สาเหตุของกำไร" ได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างที่พบเห็นอยู่ตาม webboard ของ Thaivi ที่ผ่านมาก็เช่น กระทู้การขาดทุนหุ้น TRC ที่เป็นหุ้นโครงการและประสบปัญหาขาดทุนทำให้ราคาหุ้นตกลงอย่างหนัก
สายที่ 3: เน้นความปลอดภัยของเงินต้นและเงินปันผล
นักลงทุนสายนี้ควรจะต้องเป็นนักลงทุนที่มีความสามารถในการอ่านงบการเงินได้ค่อนข้างดี รวมถึงการอ่านค่า ratio การทำกำไรและงบกระแสเงินสด นักลงทุนที่เหมาะสม จึงควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางบัญชีเพื่อที่จะสามารถกรองหุ้นที่มีความปลอดภัยจากหนี้สินรวมถึงปริมาณกระแสเงินสดและยังต้องสามารถประมาณราคาได้อย่างดีและมีความอดทนในการรอและซื้อหุ้นในจังหวะทีมีราคาที่มีส่วนลดมากๆ เพื่อเป็นการสร้างกำไรให้งอกเงยได้โดยไม่เสี่ยง
สายที่ 4: เน้นศักยภาพและการเติบโตที่ยั่งยืน
นักลงทุนกลุ่มนี้จะมองศักยภาพของธุรกิจและ business model เป็นหลัก ว่าหุ้นตัวที่เขาต้องการนั้น จะยังสร้างกำไรที่ดีได้ในอนาคต 3-5 ปี หรืออาจจะ 10 ปีได้หรือไม่ ดังนั้น นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จในสายนี้ ควรจะเป็นนักลงทุนที่มีความสามารถในการอ่านและทำนายพฤติกรรมและ trend ในอนาคตของธุรกิจต่างๆได้เป็นอย่างดี
ผมจึงลองสรุป VI ทั้ง 4 สายตามจุดแข็ง, ผลตอบแทน และความเสี่ยงได้ดังนี้ครับ
สายที่ 1: เน้นทรัพย์สินมาก
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: ความสามารถในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่และมีความอดทนในการรอ
ผลตอบแทน: น้อยช่วงแรกแต่จะพุ่งมากที่สุดเมื่อทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่ถูกปลดปล่อยออกมา
ความเสี่ยง: เวลาในการรอคอยอาจไม่คุ้มกับค่าเสียโอกาส
สายที่ 2: เน้นกำไรแบบก้าวกระโดดใน 1-2 ปี
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: รู้ต้นตอ "สาเหตุของกำไร" ที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้ก่อนคนอื่นและมีเวลาติดตามอย่างใกล้ชิด
ผลตอบแทน: สูงมากและสามารถทำได้ในระยะสั้น
ความเสี่ยง: การประมาณกำไรพลาด, รู้ "สาเหตุของกำไร" ช้ากว่าคนอื่น, ต้องหาตัวใหม่ๆลงทุนอยู่เสมอๆ
สายที่ 3: เน้นความปลอดภัยของเงินต้นและเงินปันผล
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: การวิเคราะห์งบโดยเฉพาะงบกระแสเงินสดและความเข้าใจในธรรมชาติของธุรกิจ
ผลตอบแทน: ปานกลางแต่ค่อนข้างมั่นคง
ความเสี่ยง: การวิเคราะห์ผิด, สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอาจะทำให้ความปลอดภัยที่เคยมีหายไป
สายที่ 4: เน้นศักยภาพและการเติบโตที่ยั่งยืน
จุดแข็งที่นักลงทุนต้องมีคือ: ความสามารถในการอ่าน trend และธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต
ผลตอบแทน: อาจจะน้อยในช่วงแรกแต่จะมากขึ้นๆตามศักยภาพของกำไรที่ถูกปลดปล่อยออกมา
ความเสี่ยง: การอ่าน trend พลาดและการซื้อหุ้นในราคาที่มี Margin of safety น้อยเกินไป
โดยสรุปก็คือ นักลงทุนควรจะต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองเหมาะกับสไตล์การลงทุนแบบไหน โดยอาจพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่นเวลาและเครือข่ายที่มี เช่น หากเป็นนักลงทุนเต็มเวลาการเลือกแนวทางสายที่ 2 น่าจะเหมาะ เพราะสามารถมีเวลาสร้างเครือข่ายและเข้าถึงข้อมูลได้ดี ในขณะที่นักลงทุนไม่เต็มเวลาควรจะหลีกเลี่ยง
ในส่วนตัวของผมแล้ว ยังเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ เพราะเข้าตลาดมาเพียง 3 ปีกว่าๆ และยังไม่ใช่นักลงทุนเต็มเวลาที่สามารถ monitor ข้อมูลข่าวสารหรือ trend ทางธุรกิจได้ก่อนคนอื่นๆ แต่มีความรู้พื้นฐานด้านบัญชีและจบ MBA ผมจึงคิดว่าแนวทางที่เหมาะสมในการจัดพอร์ตของตัวเองน่าจะเป็น
เน้นสินทรัพย์มาก: 20% หวังผลตอบแทนเป็นก้อนใหญ่ๆในระยะยาว
เน้นกำไรก้าวกระโด 1-2 ปี: 0% ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลเชิงลึก กลัวความเสี่ยงเพราะรู้น้อยกว่าคนอื่นๆ
เน้นความปลอดภัย: 60% สามารถวิเคราะห์งบและอัตราส่วนต่างๆได้ดี
เน้นศักยภาพอนาคต: 20% พอจะมอง mega trend ได้บ้าง แต่รอซื้อตอนตลาดตกใจ
อย่างไรก็ดีผมเชื่อว่า หุ้นทุกตัวมักจะเป็นหุ้นที่มีลักษณะผสมผสานกันทั้งสี่แบบ เพียงแต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ที่สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ความโดดเด่นของหุ้นแต่ละตัวนั้นจะแสดงออกมาเพียง 1 สายที่โดดเด่นจริงๆ
ในความเห็นของผมคิดว่า นักลงทุนหน้าใหม่ส่วนมาก ชอบที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยการมองหาหุ้น "VI" โดยทึกทักเอาว่า หุ้น "VI" คือหุ้นที่นักลงทุนหุ้นคุณค่ากำลังนิยมในขณะนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ ซึ่งโดยส่วนมากหุ้นที่ได้รับความนิยม มักจะเป็นหุ้นสายที่ 2 เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าดึงดูดในขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและความเข็ด ให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ด้วยเช่นกัน หากนักลงทุนเหล่านั้นไร้ซึ่งจุดแข็งในการเข้าถึงและมีเวลาที่จะ monitor "สาเหตุของกำไร" ได้รวดเร็วกว่าคนอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)