http://www.blip.tv/file/3641215
ขอบคุณ คุณ sorawut แห่งเวป Thaivi ครับ
ดร. นิเวศน์กับความหมายของ VI
หุ้นที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นหุ้นที่มีคุณค่ามากกว่าราคาหุ้นในตลาดโดยมูลค่าคือเงินปันผลที่ได้รับหรือกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต
วิถีชีวิต
คุณหมอบำรุง: ลาออกจากราชการมาลงทุนอย่างเดียวประมาณ 3 ปี หลังจากการทำงานมา 13 ปีตำแหน่งล่าสุดเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่บุรีรัมย์ มีครอบครัวลูกสามภรรยาหนึ่ง เริ่มลงทุนจากการที่ต้องคิดว่าเงินที่เพิ่มขึ้นจะเอาไปทำอะไรดีหลังจากเริ่มทำงาน ได้เจอประโยคที่เปลี่ยนชีวิตคือความเห็นของไอน์สไตน์ "มนุษย์ได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ขึ้นมา คือมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยผบตอบแทนระดับ 15-20% มูลค่าเงินที่เพิ่มขึ้นจะประหนึ่งดั่งนิวเคลียร์" จึงคิดอยากจะเป็นเจ้าของร้าน แต่หลังจากประชุมแฟรนไชส์แล้วพบว่าไม่ใช่วิถีของเรา เพราะต้องลงแรงเหนื่อยในการคุมร้าน บังเอิญเจอโฆษณา ปตท. ที่กำลังเข้าตลาด และโฆษณาเรื่องเงินปันผลระดับ 7% จึงเริ่มเปิดพอร์ตเพื่อซื้อ ปตท. แต่โบรคบอกว่าหุ้นเกษตรปันผลมากกว่าระดับ 10%
จึงเริ่มซื้อหุ้นเกษตรด้วยการเปิดพอร์ตระดับเงินล้านกว่าบาท โดยมีการกู้มาส่วนหนึ่ง เปิดมา 4 เดือน ขาดทุน 4 แสนกว่าบาท จึงเริ่มเข้าไปใน web Pantip และพบ link ไปที่ web Thaivi ประกอบการอ่านหนังสือตีแตก จึงเริ่มใช้หลักการในหนังสือมาหาหุ้นตาม concept ตอนนั้นปี 2546 ระหว่างนั้นก็เริ่มฝึกเรื่อยๆและมีกำไรมาเรื่อยๆ มีความมุมานะมากขึ้น สามารถวิเคราะห์หุ้นจากครึ่งหน้าเป็นเจ็ดถึงแปดหน้า จนแม้กระทั่งติดเข้าไปในความฝัน ใช้เวลาในการวิเคราะห์นานมากในหุ้นแต่ละตัวตามทฤษฎีของวอร์เรน, ปีเตอร์ ลินซ์ จนกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตอนลาออกจากงานก็คืนเงินกู้รวมทั้งเงินที่ยืมคุณยายและพี่สาวมาลงทุน
ลาออกจากงานเพราะรู้สึกอิ่มกับการทำงานมา 13 ปี ปัจจุบันชีวิตประจำวันคือการส่งลูกไปเรียน, ชอปปิ้งบ้างออกกำลังกายบ้าง นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นวิศวะ
คุณมนตรี: ตอนนี้ทำงานพิเศษคือที่ปรึกษาให้ธนาคารเกียรตินาคิน เป็นที่ปรึกษาการลงทุนและเป็นนักลงทุน เรียนจบวิศวกรในช่วงที่เศรษฐกิจดีมาก ทำงานมาหนึ่งปีก็ได้ย้ายไปทำงานกับบริษัทที่อยู่ในตลาด (index ประมาณ 1400 - 1500) ได้หุ้นจากการเป็นพนักงานเริ่มซื้อขายหุ้นตามโบรกที่แนะนำ เงินลงทุนประมาณสองแสนกว่า จน index ลงมา จึงขายไปประมาณครึ่งพอร์ตแล้วทิ้งไปพักใหญ่ กลับมาตอนหลังปี 40 index ประมาณสองร้อยกว่าๆ ตอนนั้นเริ่มเปลี่ยนสายงานเป็น sales ซึ่งเป็นบริษัทในตลาด ด้วยอาชีพทำให้รู้จักบริษัทในตลาดค่อนข้างมาก ตอนนั้นเริ่มลงทุนแนว VI จากการที่มีน้องที่ทำงานให้หนังสือ warren buffet eassay ซึงตอนนั้นยังไม่รู้จักว่าวอร์เรนคือใคร จากนั้นตามมาด้วยหนังสือตีแตก จึงประทับใจในตรรกะของการลงทุนแนว VI เริ่มลงทุนด้วยเงินประมาณสามแสน index ประมาณสามร้อยกว่าจุด จนกระทั่งขึ้นมาถึงระดับ 600 - 800 จุด จึงเริ่มตั้งตัวได้และออกจากงาน และเริ่มก่อตั้งเว็บ Thaivi เพราะอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักลงทุนแนว VI กับเพื่อนๆประมาณ 4-5 คน
ตอนนี้ลงทุนในไทย 20% และต่างประเทศ 20% และลงทุนในทองคำและถือเงินสด ตอนนี้เริ่มเหงาจึงหางานพิเศษทำ
คุณฉัตรชัย: จบตรีวิศวะ โท MBA ก่อนออกมาลงทุนทำงานล่าสุดด้านสินเชื่อธนาคาร ทำงานมา 11 ปี เริ่มลงทุนตั้งแต่ปี 33 สนใจเรื่องธุรกิจและได้อ่าน นสพ กรุงเทพธุรกิจที่เป็นการแปลบทความของปีเตอร์ ลินซ์ โดยเริ่มซื้อหุ้นทันทีหลังจากจบ โดยซื้อตอนดัชนีระดับ 1400 โดยซื้อหุ้นตัวแรกที่ราคา 118 และ cut loss ที่ราคา 18 บาท โดยซื้อเพราะบริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ใหญ่โต และหลังจากนั้นพบว่าความรู้ยังน้อยในเชิงธุรกิจ จึงศึกษา MBA ต่อ ทำให้รู้ในเรื่องธุรกิจมากขึ้นประกอบกับงานที่ทำคืองานสินเชื่อ โดยตอนนั้นได้ขายล้างพอร์ตไปก่อนที่จะเกิดวิกฤตเพราะเริ่มเห็นสัญญาณจากการทำงานที่ธนาคาร โดยกลับมาลงทุนอีกครั้งช่วงดัชนีประมาณสองร้อยกว่าๆ เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปรับลงมามากแล้ว ซึ่งตอนนั้น ก็เริ่มลงทุนแนว VI แล้วในพอร์ตหลักแสน โดยลาออกจากงานประจำมาตั้งแต่ปี 44
ดร. นิเวศน์: จบวิศวะจุฬา MBA นิด้าและทำงานที่บริษัทเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุสิบขวบ เพราะทางบ้านจน เริ่มต้นจากการซื้อหมากฝรั่งมาขาย, เพราะเห็ดฟาง, เก็บเศษสายไฟขาย จบออกมาทำงานวิศวะจนเป็นหัวหน้าวิศวกรที่ต่างจังหวัด เรียน MBA และไปต่อเอกการเงินที่ต่างประเทศและกลับมาทำงานด้านการเงิน เป็นนักวางแผนการเงินและจากนั้นย้ายไปทำงานบริษัทหลักทรัพย์ ทำงานฝ่ายวาณิชย์ธนกิจ ลงทุนหุ้นแบบซื้อมาขายไปแบบสเปะสปะ เริ่มรู้จัก VI จากการจัดตั้งแผนกที่นำเงินมาลงทุน ซึ่งต้องมีแผนกวิเคราะห์ จึงเริ่มมีการ form idea ในการลงทุน แต่ช่วงนั้นก็ยังไม่เป็นแนว VI เพราะหุ้นตอนนั้นค่อนข้างแพงเพราะดัชนีสูงแล้ว พอถึงจุดหนึ่ง จึงคิดว่าการวิเคราะห์หุ้นคือแนวทางที่ดี ต่อมาดัชนีลงมาจากระดับพันกว่าเหลือเจ็ดถึงแปดร้อยจุด จนกระทั่งบริษัทหลักทรัพย์ถูกปิด เริ่มใช้แนว VI ปี 38-39 จนปี 40 เกิดวิกฤติราคาหุ้นก็ยังไม่กระทบมาก โดยมีเงินเก็บประมาณ 10 ล้าน ซึ่งตอนนั้นตกงาน ไม่มีทางเลือก จึงเริ่มลงทุน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการซื้อขายน้อยมากแต่ก็ได้งานที่ปรึกษาและเก็บเงินจากเงินเดือนมาตลอดจนกระทั่งออกจากงาน ชีวิตประจำวันคือ ส่งลูก, ออกไปตีกอล์ฟ ตอนเย็นก็ออกไปจ็อกกิ้ง เขียนบทความ, สอนหนังสือ
วิธีลงทุนโดนสรุป
คุณมนตรี: วิธีเดิมๆ คือดูกิจการเป็นหลัก ดูกิจการที่มีการเติบโตมีกำไร มีผู้บริหารที่ดี รอซื้อที่ราคาที่เหมาะสม ตอนนี้ซื้อหุ้นไทย 30% กองทุนต่างประเทศ (โดยเลือก บล. ที่ลงทุนตาม concept เดียวกับเรา) ประมาณ 50% และอีก 20% เป็นกองทุนทองคำและเงินสด ซึ่งจะมีการปรับระดับ % ของหุ้นตามสถานการณ์
คุณบำรุง: ตอนนี้ใช้เงินลงทุนประมาณ 130% ลงทุนในหุ้นตัว 2-3 ตัว ตัวรอง 7-8 ตัว มีหลักเกณฑ์ในการเลือกหุ้นโดยการมองอนาคตว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนที่กำลังจะมาในอนาคต จากนั้นจึงค่อยดูบริษัทในกลุ่มนั้นๆและดูกิจการว่ามีกระแสเงินสดเข้ามาเท่าไหร่ แฟร์แวลูอยู่ที่ไหน โดยไม่มีระยะเวลาที่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับว่าราคาหุ้นได้มาถึงแฟร์แวลูหรือยัง การใช้มาร์จินนั้นมีต้นทุนประมาณ 6-7% ต่อปี ถ้าเรามั่นใจว่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่านั้น จึงใช้
คุณฉัตรชัย: เลือกหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ มีกระแสเงินสดสุทธิที่ดี ผู้บริหารเชื่อถือได้ เคยถือหุ้นตัวเดียวมา 5-6 ปี ที่กล้าเพราะว่าเรามั่นใจ และไม่จำเป็นที่จะขายทิ้ง เพราะราคายังไม่ over value และหากจะเปลี่ยนก็ต้องเพราะเราวิเคราะห์ผิดหรือราคาเกินหรือมีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจมากกว่า สาเหตุที่สนใจการวิเคราะห์งบเพราะงบเป็นตัวสะท้อนความเป็นไปของกิจการและพฤติกรรมผู้บริหาร
ดร. นิเวศน์: เลือกหุ้น wonderful business with reasonable price คือธุรกิจที่มีการเติบโตมีกระแสเงินสดมากมีการเติบโตระยะยาว 3-5 ปีอย่างแน่นอน ไม่ได้เลือกหุ้นแบบ top down หรือ bottom up แต่เป็นการมองแบบรู้ได้ทันทีว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นที่โดดเด่น มีผู้บริหารที่วางใจได้มีการจ่ายปันผลที่สมเหตุสมผล แล้วรอให้ราคาถึงที่ที่เราคาดหวัง ถ้าไม่ถึงไม่ซื้อ แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวที่ดีที่สุด หากราคาอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำกว่าราคาที่คาดหวัง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น